สื่อโฆษณาออนไลน์ มีอะไรบ้าง ??

วันนี้ เราจะมาทำความรู้จัก สื่อโฆษณาออนไลน์ ในตลาดบ้านเราตอนนี้ ว่ามีสื่อไหนที่ใช้อยู่กันบ้าง และสื่อแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันยังไงค่ะ
สื่อโฆษณาออนไลน์หลักๆ ที่ใช้กันจะมี ประมาณ 7 ประเภท ดังนี้ค่ะ
1. Display ad ( Banner)
2. Mobile ad
3. Search
4. Direct mail (EDM)
5. Viral marketing
6. Social Media
7. PR/ Advertorial
สำหรับผู้อ่านบางคนอาจจะคุ้นเคยกับ มีเดีย บางประเภท หรือ บางประเภทอาจจะไม่คุ้นเลย ทางผู้เขียนได้ ลองทำ ตารางอธิบาย ความหมายของ media แต่ละ ประเภท พร้อมทั้ง วัตถุประสงค์การใช้งาน มาตามตาราง ด้านล่างนี้ค่ะ
1. Display ad (Banner) | |
คำอธิบาย | รูปแบบการโฆษณาแบบ แบนเนอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ ภาพ, วีดีโอ หรือ อนิเมชั่น ตำแหน่งโฆษณาจะอยู่ใกล้เนื้อหาของหน้าเว็บไซด์นั้นๆ มีทั้งแบบที่ แสดงผลในพื้นที่กรอบโฆษณา (Standard banner) และ ขยายออกมานอกกรอบโฆษณา (Expandable banner) |
วัตถุประสงค์การใช้งาน | สร้าง awareness หรือ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย , จะสนใจมาก –น้อย ขึ้นอยู่กับ รูปแบบการแสดงผล , ข้อความ, และ ความน่าสนใจของแคมเปญนั้นๆ |
ข้อดี |
1.สามารถแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับแคมเปญ เช่น ภาพ, วีดีโอ หรือ อนิเมชั่น
2.เวบไซด์ส่วนใหญ่มีพื้นที่หรือตำแหน่งรองรับการโฆษณารูปแบบนี้
3.มีหน่วยวัดผลที่ชัดเจน เข่น Impression, click, CTR, etc. และ บางที่เลือก demographic, geographic, behavior ได้
4.สามารถเปลี่ยนรูปแบบโฆษณาหรือ ครีเอทีพของแบนเนอร์ได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือ เอเยนซี่
|
ข้อเสีย |
1.บางครั้งเกิดความรำคาญต่อผู้ใช้งาน
2.ราคาสูงสำหรับ เวบไซด์ที่มีความนิยมสูง
3.เว็บไซด์ที่มีความนิยมสูงบางครั้งจะไม่มีพื้นที่ว่างให้ลง (มีเงินก็ซื้อไม่ได้นะจ้ะ)
|
2.Mobile ad | |
คำอธิบาย | รูปแบบการโฆษณาในมือถือ สามารถเลือกแสดงผลได้ทั้งใน smart phone และ feature phone เนื่องจาก กลุ่มผู้บริโภค หรือ กลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมการใช้งานผ่าน โทรศัพท์มากขึ้น เพื่อเป็นการเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ เราจึงต้องเอาโฆษณาไปลงในมือถือด้วยค่ะ |
วัตถุประสงค์การใช้งาน | สร้าง awareness หรือ เพื่อดึงดูด ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย นอกจาก จะให้เกิดการมองเห็น ผ่านสายตาของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้โฆษณาของเรา ดึงดูดให้เขา ดาว์นโหลด mobile application , เข้าไปอ่านข้อมูลใน mobile site , ดู Video/TVC หรือ เข้ามาเล่นเกมส์ของเรา |
ข้อดี |
1.ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าอยากให้คนมาดาว์นโหลด mobile application ของเรา แน่นอนเลยว่า ต้องลงโฆษณาผ่าน Mobile ad เพราะ เป็น สื่อประเภทเดียวกัน
2.สามารถแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับแคมเปญ เช่น ภาพ, วีดีโอ หรือ อนิเมชั่น ขึ้นอยู่กับ publisher หรือ ad network ที่เราจะเข้าไปซื้อ ว่ารองรับรูปแบบโฆษณาแบบไหน ตัวอย่างเช่น โฆษณารถยนต์ เราสามารถให้ ad แสดงผลแบบหมุน 360 องศา เพื่อให้เห็นตัวรถทั้งหมด
3.มีหน่วยวัดผลที่ชัดเจน เข่น Impression, click, CTR, etc. และ บางที่เลือก demographic, geographic, behavior ได้ (เหมือน Display ad)
|
ข้อเสีย |
1.Click rate น้อย , click ที่เกิดขึ้น อาจจะมาจาก คนกดไปโดน เราก็ไม่สามารถวัดได้ (แต่ในอนาคตอาจจะพัฒนาขึ้น)
2.รูปแบบการเล่นโฆษณาในบาง publisher หรือ ad network ยังจำกัดอยู่ที่ standard banner หรือ รูปภาพ ความน่าสนใจจะน้อยลง และ ด้วยขนาดของ แบนเนอร์ที่เล็กมากๆ เมื่อเทียบกับ Display ad อาจจะดึงดูดความน่าสนใจได้ไม่มากเท่า Display ad
|
3. Search | |
คำอธิบาย | จากข้อมูลของ Google พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มจากทฤษฎี “First Moment of Truth” ( Stimulus/Purchase/Post Purchase) ได้เปลี่ยนมาเป็น “Zero Moment Of Truth” (Stimulus/Search/Purchase/Post Purchase) นั่นคือ ก่อนจะไปซื้อสินค้าอะไร ใดๆ ก็ตาม คนจะ search ก่อน หาข้อมูลก่อน แล้วค่อยไปซื้อ เพราะ ฉะนั้น เราก็ต้องพยายามเอาแบรนด์ สินค้า หรือ แคมเปญของเรา ไปแสดงผลในที่ๆ คนเขา search กัน ส่วนใหญ่ คนไทย ใช้ Google Search ค่ะ |
วัตถุประสงค์การใช้งาน | เพื่อให้สินค้าหรือ แคมเปญของเรา ได้เข้าไปอยู่ใน consideration set ของกลุ่มเป้าหมาย |
ข้อดี |
1.สามารถ drive to sale ได้
2.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในปริมาณมาก , google บอกมาว่า มากกว่า 52% ของคนไทยที่ออนไลน์ ใช้ google นะจ้ะ
3.มีหน่วยวัดผลที่ชัดเจน เข่น Impression, click, CTR, etc. และ สามารถเลือก demographic, geographic, behavior ได้ (filter ได้หมด)
4.สร้างความน่าเชื่อถือของสินค้า , คนจะปลื้มนะ ถ้า search แล้วเจอข้อมูลเลย ประหยัดเวลา เข้าถึงข้อมูลมากๆ
5.Google พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ลงทุนใน google มีแต่ได้กับได้จ้า
6.มีระบบวัดผลและการ โฆษณาที่มืออาชีพมากๆ ใครที่สนใจ สามารถเข้าไป self learning ศึกษาได้เองไม่เสียตังค์ เรียกว่า ใจกว้างและมองการณ์ไกลสุดๆ
|
ข้อเสีย |
1.ต้องใช้ผู้เชียวชาญ ในการทำ SEM/SEO หรือ มีประสบการณ์ด้าน Google
2.Algorithm ของ Google เป็นความลับ บางที ทำตามที่บอกทุกอย่าง ผลที่ได้ก็ไม่ได้ตามที่ตั้งไว้นะคะ T__T
|
5. Viral Marketing |
|||||||||||
คำอธิบาย | รูปแบบโฆษณาที่เป็น ใช้สื่อในรูปแบบที่ indirect เพื่อให้เกิดบอกต่อ หรือ เป็นการสร้าง content ในรูปแบบ User generate content (UGC) รูปแบบ viral marketing ที่ใช้กัน ได้แก่
•Viral seeding : สร้าง userมา สร้าง topic /comment ใน webboard เพื่อสร้างกระแส หรือ ให้ข้อมูลกี่ยวกับสินค้าหรือแคมเปญนั้นๆ
•Influencer / Influential marketing : เป็นการจ้าง ดารา /นักแสดง/ Net Idol/Blogger/ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ มาพูดถึง หรือ เชิญชวนให้ใช้สินค้านั้นๆ
|
||||||||||
วัตถุประสงค์การใช้งาน | ให้ข้อมูลสินค้าหรือ แคมเปญ โดย | ||||||||||
ข้อดี | เป็น source ที่มีความน่าเชื่อถือในสายตาผู้บริโภค แต่ขึ้นอยู่กับ คนที่เราเลือกใช้ | ||||||||||
ข้อเสีย |
1.Control ยาก เพราะ เป็นการทำงาน ร่วมกับศิลปิน ต้องให้เกิดความ balance ระหว่าง ตัวตนของ blogger กับ ข้อมูลที่ต้องการสื่อสารไปยัง users
2.ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
3.ยังไม่มีความชัดเจนในการวัดผล
|
6. Social Media | |
คำอธิบาย | เป็นการลงโฆษณาในพื้นที่ของ social media เช่น Facebook / Instagram/Twitter เนื่องจาก กลุ่ม social media เหล่านี้ เป็นพื้นที่ที่มี online user อยู่จำนวนมาก เจ้าของ social media เค้าก็ฉลาด หาพื้นที่ให้ลงโฆษณาให้ ซึ่งประเทศไทยที่นิยมที่สุดคือ Facebook รูปแบบจะเป็นเหมือน display ad ประเภทหนึ่ง |
วัตถุประสงค์การใช้งาน | สร้าง awareness หรือ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยตำแหน่งโฆษณาจะมีความหลากหลาย เช่น Facebook เอง เราสามารถลงโฆษณาได้ทั้ง มุมขวา หรือ กลาง news feed หรือ ให้โชว์เฉพาะ Mobile ก็ได้ |
ข้อดี |
1.Facebook : สามารถ filter target ได้ ว่าเราอยากให้ ad เราโชว์ที่ target ไหน อายุ,เพศ,location
2.สามารถซื้อได้ทั้งแบบ CPM และ CPC
3.สามารถวัด reach ได้ค่อนข้างแม่นยำ
4.มีการพัฒนาอยู่เสมอ ทำให้เราสามารถเข้าถึง user ได้ง่ายและโดนใจมากขึ้น
|
ข้อเสีย |
1.รูปแบบ ad ค่อนข้างจำกัด ทั้งจำนวน คาแรคเตอร์ และ รูปภาพ ต้องศึกษาและ เตรียมตัวดีๆ เช่น ถ้าจะ promoted post ใน facebook ห้ามให้ text ใน ภาพนั้น เกิน 20% ของภาพ เป็นต้น
2.เวลามีปัญหา ติดต่อ ยาก เพราะ เป็น Global Company แต่สามารถคุยกับ Sale representative ในประเทศไทยที่เป็น partner กับ facebook ได้
|
7.PR & Advertorial | |
คำอธิบาย | เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือ กิจกรรม ใน website ในรูปแบบของข่าวประชาสัมพันธ์ หรือ โฆษณาประกอบภาพ (advertorial) |
วัตถุประสงค์การใช้งาน | ให้ข้อมูลจำนวนมากแก่ผู้บริโภค |
ข้อดี |
1.สามารถให้ข้อมูล + ภาพได้ เท่าที่เนื้อที่ข่าวมี
2.สามารถสื่อสารได้ทั้งในแบบ เบรนด์ เชียนเอง หรือ แบบที่เสมือนว่า เว็บไซด์เขียนเอง (tie-in)
|
ข้อเสีย |
1.ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะ ถ้าเขียนไม่ดี คนจะมองว่า hard sale
2. มีคนอ่านน้อย เพราะ บาง website วางไว้ในตำแหน่ง PR news คนจะไม่ค่อยอ่าน
|
ทั้งหมดนี้ อาจจะมี การเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา นี่เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนมีประสบการณ์และมีความเห็นกับสื่อต่างๆ ในขณะนี้เท่านั้นค่ะ ไว้จะมาอัพเดทใหม่เรื่อยๆ นะคะ