What’s re-targeting ??
เคยสังเกตุบ้างไหมคะ ว่าเวลาเราเข้า agoda.com หรือ website ต่างๆ ไป แล้วหลังจากนั้น ทำไม๊ ทำไม Banner ของ website เหล่านั้น ถึงตามหลอกตามหลอน เหลือเกิน โอ๊คก็เคยเจอมาเหมือนกันค่ะ
ยกตัวอย่างวันนี้ ขณะที่เรากำลังคิดราคา media ลูกค้า และจะ convert ค่าเงิน โดยใช้ บริการ xe.com สิ่งที่เจอ คือภาพด้านล่างค่ะ
เพื่อนร่วมงาน : นี่โอ๊ค ยู กำลังจะไปเที่ยวพัทยาหรอ
โอ๊ค : รู้ได้ไงอ่ะ
เพื่อนร่วมงาน : Agoda บอก ….
Agoda โชว์ออกมาได้ไง ว่า เรากำลังมองหาที่พักที่พัทยาอยู่ นั่นก็เพราะว่า Agoda ทำ re-targeting กับเรา อยู่ไงล่ะคะ
ผู้ที่อยู่ในวงการด้านการตลาดหรือ ทำงานออนไลน์คงไม่มีใคร ไม่เคยได้ยินคำว่า Re-targeting หรือ Re-Marketing วันนี้ เรามาทำความรู้จัก หลัก basic ง่ายๆ ของ re-targeting กันดีกว่าค่ะ
จากผลสำรวจ พบว่า มีแค่ 2% ของคนที่เข้ามาใน website ของเราเท่านั้น ที่เกิดการซื้อของ หรือ สั่งจองสินค้า หรือ สมัครกิจกรรมต่างๆ แล้วที่เหลือ อีก 98% ล่ะ จะทำยังไงให้กลับมาซื้อ ….เราดึงเขากลับมาได้จากการทำ re-targeting ค่ะ
แล้ว Re-targeting ทำได้ยังไง ??
วิธีการทำ re-targeting เริ่มจาก การที่เราเขียน code หรือ tag re-targeting ใน website ของเรา ซึ่ง code นี้จะเป็น code ที่ สร้าง list ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม website ของเรา เราเรียกว่า Cookies โดย แปลง่ายๆ ว่า 1 cookies คือ 1 browser และสามารถแทนได้ว่า คือ 1 user ซึ่ง code ที่เราใส่ไปใน website ของเรานั้น นอกจากจะจับ cookies ให้เราแล้ว code นี้จะเชื่อมต่อกับ re-targeting vendors ( ในประเทศไทย ตอนนี้ มี vendors เช่น AdRoll ของ Facebook, Doubleclick, OpenEx, Rubicon, Pubmatic, Appnexus,Admeld, etc.) โดยเมื่อเราติด code พวกนี้แล้ว เมื่อ user เข้ามา website เรา แล้วไม่ซื้ออะไร ระบบ re-targeting จะจับ cookies users เหล่านี้ไว้ แล้ว ให้ display ad ที่เราเตรียมซื้อเอาไว้กับ ad exchange หรือ DSP ตามหลอกหลอนเค้าไปต่อ ยัง website ใน list ad exchange ต่างๆ (ตามภาพด้านล่าง)
Re-targeting สำคัญต่อเรา เพราะ จะโฟกัสไปยัง target audience ของเรา ช่วยให้เขากลับมาที่ website เราได้ง่ายขึ้น ทุกครั้งที่ target users ของเรา เห็น re-targeting ads แบรนด์ของเราก็จะได้โชว์ให้เค้าเห็นซ้ำๆ เหมือนตอกย้ำ ให้เค้าตัดสินใจซื้อสินค้าเราเร็วขึ้น ซึ่ง ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เงินทุกบาทที่เราใช้ไป จะไปโดนกลุ่มเป้าหมายเราแน่นอน ซึ่งช่วยให้ ROI ของแคมเปญ สูงขึ้นอย่างชัดเจน เลยค่ะ
สำหรับ case ของ Agoda ขอบอกว่า ทำ re-targeting ได้เข้าถึง target มากๆ มากจนรำคาญกันไปข้างหนึ่ง สิ่งที่ users ที่รำคาญ โฆษณาประเภทนี้จะทำได้คือ ล้าง cookies ในเครื่องตัวเองออก แล้ว Banner Agoda จะไม่ตามหลอกหลอนคุณอีก ซึ่งสิ่งที่ Agoda ลืมไปคือ Banner พัทยาที่ ขึ้น show เรานั้น เราได้เลือกซื้อไปแล้ว Agoda ไม่ควรให้ Banner มา show เราอีกเพราะ เราไม่สนใจแล้ว และ การตั้งค่า Frequency cap ที่ทาง Agoda ควรจะ ตั้งค่าไว้ เช่น ไม่ให้ Banner โชว์ที่ user เกิน 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์เป็นต้น เพื่อลดความรำคาญของ user ค่ะ
Source :
http://www.retargeter.com/what-is-retargeting-and-how-does-it-work